ผลงานนวัตกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เเละเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

268836678_463106118516487_3296782738682976179_n

Deep GI เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาด้าน AI ทางการแพทย์ให้สมบูรณ์ โดยทีมวิจัยโดย ผศ. ดร. พีรพล เวทีกูล, ศ. นพ. รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร, รศ.พญ. สติมัย อนิวรรณน์ และ พญ. เกศินี เธียรกานนท์ โดยทีมพัฒนาได้เตรียมให้มีการทดสอบ Deep GI ในโรงพยาบาลและพัฒนาระบบให้สามารถทำงานส่องกล่องกับส่วนอื่นๆ ทั้งระบบทางเดินอาหาร เพื่อช่วยเหลือแพทย์ในการวินิจฉัยโรคจากการส่องกล้องและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศไทยและพื้นที่อื่นๆ ในอาเซียนต่อไป Deep GI เป็นหนึ่งในนวัตกรรมไฮไลท์ที่น่าสนใจจาก UTC DEMO DAY 2021 งานที่รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็น Deep Tech Startups ของประเทศไทยในอนาคต ด้วยนวัตกรรมที่เกิดมาเพื่อตอบโจทย์ และแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง

269265674_463105945183171_1313665446101296823_n

นวัตกรรมช่วยแพทย์วินิฉัย ผ่านการส่องกล้องแบบ Real time ส่องเทคโนโลยี Deep GI ระบบ AI ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยและตรวจหาติ่งเนื้อและมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้แบบ Real time จากการพัฒนาของทีมวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและให้ผลการตรวจที่แม่นยำถึง 90%

269683418_463105995183166_6302142565750436029_n

มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายทั่วโลก และมะเร็งลำไส้ใหญ่คือมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่ 3 และมันอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นในทางการแพทย์เพื่อป้องกันการเสียชีวิตตั้งแต่เนิ่นๆ ในกลุ่มคนที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป มักมีการแนะนำให้ไปส่องกล้องเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อเล็กๆ ที่เรียกว่า Polyp ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งในอนาคตได้ แต่การส่องกล้องโดยทั่วไปก็อาจมีโอกาสผิดพลาดได้สูงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ในขณะที่ประชากรไทยมีคนอายุมากกว่า 50 ปี ถึง 13 ล้านคนที่ควรส่องกล้อง ทีมนักพัฒนาจึงต้องการสร้าง AI ขึ้นมาเพื่อลดการผิดพลาดในการตรวจหาติ่งเนื้อและตรวจหาอย่างแม่นยำมากขึ้น

268469637_463106061849826_5311116135061329827_n

ทีมพัฒนา Deep GI ต้องการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยจากการส่องกล้องได้แบบเรียลไทม์ โดยเมื่อแพทย์ส่องกล้องเข้าไปในร่างกาย AI จะทำการตรวจจับติ่งเนื้อและแสดงกรอบบนหน้าจอทันทีซึ่งเป็นการเพิ่มความแม่นยำได้ถึง 90% โดยมีความแม่นยำ Sensitivity 94% ,Specificity 91% และ NPV 97% ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบและวินิจฉัยได้ง่ายมากขึ้น นอกจากในสำไส้แล้วเทคโนโลยี Deep GI ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจหา GIM (Gastrointestinal Metaplasia) ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย